การดำเนินการในกรณีดังกล่าวข้างต้น จะต้องดำเนินการดังนี้
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการเข้า
1.1 การแต่งตั้งกรรมการ
(1) แต่งตั้งโดยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
(2) แต่งตั้งโดยมติคณะกรรมการแทนกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบกำหนดวาระกรรมการที่ได้รับ
การแต่งตั้งใหม่จะมีวาระเท่ากับกรรมการเดิมที่ออกไป
กรณีที่จะแต่งตั้งกรรมการใหม่เพิ่มเติมจากจำนวนกรรมการที่มีอยู่เดิม จะต้องให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น
มีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่
1.2 กรรมการพ้นจากตำแหน่งด้วยเหตุ ดังต่อไปนี้
(1) ครบกำหนดวาระ ในการประชุมสามัญประจำปีแต่ละปี กรรมการจะต้องออกจากตำแหน่งจำนวนหนึ่งในสาม (โดย 2 ปีแรก หลังจากตั้งบริษัทถ้ามิได้มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ให้ใช้วิธีการจับสลากออกส่วนปีถัดไป (ปีที่ 3) ให้กรรมการที่อยู่นานที่สุดออกจากตำแหน่ง) และแต่งตั้งกรรมการใหม่แทนกรรมการที่ออกจากตำแหน่ง กรรมการที่ออกจากตำแหน่งจะถูกแต่งตั้งกลับเข้ามาเป็นกรรมการของบริษัทอีกก็ได้
(2) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติถอดถอนจากตำแหน่งก่อนครบวาระ ป.พ.พ.มาตรา 1151 และมีมติแต่งตั้งกรรมการใหม่แทน *การปลดกรรมการออกจากตำแหน่งจะต้องอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นเท่านั้น*
(3) ออกจากตำแหน่งกรรมการโดยมีหนังสือลาออกถึงบริษัท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1153/1
(4) ตาย มาตรา 1153/1 มาตรา 1155
(5) ล้มละลาย ป.พ.พ. มาตรา 1154
(6) ตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ ป.พ.พ. มาตรา 1154
- การแก้ไขเปลี่ยนแปลงอำนาจกรรมการ
ในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการ บางครั้งก็จะเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท ซึ่งจะต้องมีการแก้ไขอำนาจกรรมการให้สอดคล้องกับกรรมการด้วย หรือบางครั้งไม่มีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงกรรมการ แต่บริษัทประสงค์จะแก้ไขอำนาจกรรมการเพื่อให้การบริหารงานคล่องตัว หรือรัดกุมมากยิ่งขึ้น ก็ดำเนินการแก้ไขอำนาจกรรมการเพียงอย่างเดียวก็ได้
หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้น กรรมการเข้า-ออก อำนาจกรรมการ
- วันออกหนังสือนัดประชุม (ไม่น้อยกว่า 7 วัน) ตย. 1 พฤศจิกายน 25xx
- ไม่น้อยกว่า 7 วัน ระหว่าง 2-8 พฤศจิกายน 25xx (จัดประชุมไม่ได้)
- วันประชุมผู้ถือหุ้น ตย. 9 พฤศจิกายน 25xx
วาระการประชุมในหนังสือเชิญประกอบด้วยวาระต่าง ๆ ดังนี้
วาระที่ 1 พิจารณากรรมการเข้า – ออก
วาระที่ 2 พิจารณาแก้ไขเพิ่มเติมจำนวนหรือชื่อกรรมการ ซึ่งลงชื่อผูกพันบริษัท
วาระที่ 3 พิจารณาเรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี