เงินปันผลเป็นคำที่คุณน่าจะเคยได้ยินกันบ่อยๆ แต่อาจจะไม่รู้ว่าเงินปันผลนั้นมาจากอะไร หรือคืออะไร เราจะมาทำความรู้จักกับเงินปันผลกัน เวลาที่บริษัทมีกำไรสุทธิก็สามารถนำเงินส่วนนั้นออกมาจ่ายเป็นเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้ นั่นก็หมายความว่า เงินปันผล คือ เงินตอบแทนที่ได้จากการลงทุนหรือเป็นเงินที่จ่ายจากกำไรสุทธิจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้น ซึ่งจะจ่ายเป็นเงินสด สินทรัพย์ หรือหุ้นก็ได้ และมีขั้นตอนในการจ่ายเงินปันผลดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 อนุมัติจ่ายเงินปันผล
จัดทำหนังสือเชิญประชุมอนุมัติจ่ายเงินปันผล กำหนดวันที่ประชุมตามโดยกำหนดต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ก่อนประชุมอย่างน้อย 7 วัน โดยลงประกาศโฆษณาหนังสือพิมพ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 4 ก.ย. 256X
ประชุม วันที่ 12 ก.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
ตัวอย่างรายงานการประชุม อนุมัติจ่ายเงินปันผล
*หมายเหตุ copy ข้อความไปแก้ไขเอานะครับ*
ขั้นตอนที่ 2 ประกาศจ่ายเงินปันผล
ลงประกาศหนังสือพิมพ์ กำหนดจ่ายเงินปันผล
ต้องลงประกาศ ภายใน 14 วันหลังจากมีมติจากที่ประชุม และกำหนดวันที่จ่ายเงินภายใน 1 เดือน
ตัวอย่าง ประชุมและมีมติ วันที่ 12 ก.ย. 256X
ประกาศจ่ายภายใน วันที่ 12-25 ก.ย. 256X
เงินปันผลมาจากไหน ?
เวลาที่เราทำธุรกิจก็หวังที่จะได้กำไร เมื่อได้กำไรแล้วกำไรนี้ก็จะสะสมอยู่ในบริษัทหรือที่เรียกว่ากำไรสะสมและจะนำเงินส่วนนี้ไปลงทุนต่อ หรือจะนำมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้นก็ได้ ซึ่งเงินที่นำมาจ่ายนี้นี่เองที่เราเรียกว่า เงินปันผล
ระยะเวลาการจ่ายเงินปันผล
การจ่ายเงินปันผล
- เงินปันผลที่จ่ายหลังจากปิดบัญชีเรียบร้อยแล้ว
- จ่ายได้ก็ต่อเมื่อมีมติจากที่ประชุมสามัญประจำปี
- กำหนดจ่ายภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ประชุมผู้ถือหุ้น
การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
- เงินปันผลที่กรรมการบริษัทมีมติจ่ายในระหว่างรอบปีบัญชี
- เงินที่จ่ายจากกำไรของบริษัท ไม่มีกำไรจ่ายไม่ได้
- กำหนดจ่ายภายใน 1 เดือน นับจากวันที่คณะกรรมการมีมติให้จ่าย
ประเภทของการจ่ายเงินปันผล
หุ้นปันผล
- จ่ายปันผลในรูปแบบของหุ้น
เงินสด
- จ่ายปันผลในรูปแบบเงินสด หรือโอนเข้าบัญชีธนาคาร
ตัวอย่างการคำนวณ จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
- บริษัทมีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท
- ต้องสำรองตามกฎหมาย (1,000,000/10%) 100,000 บาท
(การจ่ายเงินปันผลทุกครั้งจะต้องมีการตั้งเงินสำรองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1202
อย่างน้อยร้อยละ 5 ของกำไรสุทธิ จนกว่าจะครบร้อยละ 10 ของทุนจดทะเบียน) - ภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.2 (10%)
(หักผู้ถือหุ้น 1,000,000/10%) 100,000 บาท - จ่ายเป็นเงินสด/ธนาคาร
การบันทึกบัญชีจ่ายเงินผลระหว่างกาล
- การบันทึกหลังจากประกาศหนังสือพิมพ์ (สำรองตามกฎหมาย 5%)
ตั้งค้าง (อนุมัติจ่ายเงินปันผล ครั้งที่ 1/xx)
เดบิต กำไรสะสม 1,050,000
เครดิต เงินปันผลค้างจ่าย 1,000,000
เงินสำรองตามกฎหมาย 50,000
- การบันทึกหลังจากจ่ายปันผลระหว่างกาล
จ่าย (จ่ายเงินปันผล ครั้งที่ 1/xx)
เดบิต เงินปันผลค้างจ่าย 1,000,000
เครดิต เงินสด/ธนาคาร 900,000
ภาษี ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.2 (10%) 100,000
(หักผู้ถือหุ้น)
1. หนังสือเชิญประชุมผู้ถือหุ้น
จัดทำหนังสือเชิญประชุม กำหนดวันที่ประชุมตามโดยกำหนด
มีมติแก้ไขข้อบังคับ ต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์ก่อนประชุมอย่างน้อย 14 วัน โดยลงประกาศโฆษณาหนังสือพิมพ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 1 ครั้ง
ตัวอย่าง ประกาศ วันที่ 4 ก.ย. 256X
ประชุม วันที่ 19 ก.ย. 256X
**ไม่นับวันที่ประกาศและวันที่ประชุม**
2. ประกาศจ่ายเงินปันผล
หลังจากมีมติอนุมัติจ่ายเงินปันผล ให้ลงประกาศหนังสือพิมพ์จ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ภายใน 14 วัน และต้องจ่ายภายใน 1 เดือนนับจากวันที่มีมติ
ตัวอย่าง ประชุมอนุมัติจ่ายเงินปันผล วันที่ 12 ก.ย. 256X
**ประกาศภายใน วันที่ 12-25 ก.ย. 256X
สรุป
เอกสารที่ต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน
- หนังสือพิมพ์ฉบับจริง (ประกาศเชิญประชุมอนุมัติจ่ายเงินปันผล)
- รายงานการประชุม
- หนังสือพิมพ์ฉบับจริง (ประกาศจ่ายเงินปันผล)
- การบันทึกบัญชีเมื่อมีการประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล
- การจ่ายเงินปันผลต้องลงประกาศหนังสือพิมพ์แห่งท้องถิ่น ทั้งหมด 2 ครั้ง ได้แก่ ประกาศเชิญประชุมอนุมัติจ่ายเงินปันผลและประกาศจ่ายเงินปันผล
- ระยะเวลาการจ่ายเงินปันผล ได้แก่ การจ่ายปันผลประจำปีและการจ่ายปันผลระหว่างกาล
- ประเภทของการจ่ายปันผล ได้แก่ หุ้นปันผลและเงินสด